วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบกล้ามเนื้อ



         ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น ชนิด คือ 

1.กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle) 
2.กล้ามเนื้อเรียบ  (smooth muscle)   
3.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) 
โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์  ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ




1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle) 

           กล้ามเนื้อลายจะเกาะติดอยู่กับกระดูกอย่างน้อย 2 ชิ้น 
ผ่านข้ออย่างน้อย 1 ข้อ แรงที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อจะดึงกระดูกให้เคลื่อนที่ตามไปด้วย ท าให้
ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว การหดตัวของกล้ามเนื้อลายถูกควบคุมโดยระบบประสาทส่วนกลาง จึงอาจ
กล่าวได้ว่ากล้ามเนื้อลายท างานภายใต้อ านาจจิตใจ

2.กล้ามเนื้อเรียบ  (smooth muscle)   

         กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายใน เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เส้นเลือดดำ ฯลฯกล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว  หัวท้ายแหลม  แต่ละเซลล์มี นิวเคลียส  ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ

3.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)

           เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน  แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง และเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ  โดยเซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ





คุณลักษณะของกล้ามเนื้อ


1.มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเนื้อ เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง
2.มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้
3.มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลี่ยน รูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น
4.มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะ กลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ เกิด Muscle Tone ขึ้น
5.มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ ทำงานอยู่เสมอ
        6.Automaticity   กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบมีคุณสมบัติในการหดตัวหรือทำงานได้เองแม้ว่าจะถูกตัดออก                            
   มาจากร่างกาย ทั้งนี้ต้องนำกล้ามเนื้อไปไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือคล้ายกับใน  ร่างกายโดยเฉพาะ     
  สภาพอุณหภูมิ ความชุ่มชื้น จ านวนสารอาหารต่าง ๆ        
         7.กล้ามเนื้อสามารถที่จะผลิตหรือสร้างไฟฟ้าได้ (Bioelectrogenesis )     เมื่อกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นให้หดตัวจะเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า ซึ่งจะไปมีผลทำให้เกิดขบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปรากฏการณ์
ทางไฟฟ้าจะเกิดขึ้นก่อนที่กล้ามเนื้อจะหดตัวเสมอ

        ส่วนประกอบทางเคมีของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อประกอบด้วยน้ำ 75% โปรตีน 20% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีนที่ช่วยในการหดตัวของ
กล้ามเนื้อ คือ actin และ myosin อีก 5% เป็น carbohydrate, lipids, inorganic salt และพวก nonprotein nitrogen    ในสัตว์ต่างชนิดกัน และในกล้ามเนื้อต่างมักดันของสัตว์ชนิดเดียวกัน ส่วนประกอบ
เหล่านี้จะต่างกัน  คาร์โบไฮเดรท  (Carbohydrate) ของกล้ามเนื้อจะอยู่ทั้งในรูปของ glycogen และ
glucose

*หมายเหตุ*
    การทำงานของกล้ามเนื้อนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่ 
1. แคลเซียมไอออน หากขาดแล้วจะเกิดอาการชัก 
2. พลังงาน  ได้จากกระบวนการสลายอาหารภายในเซลล์ 
3. Myoglobin ทำหน้าที่นำออกซิเจนให้กล้ามเนื้อ

                               เรื่อง กล้ามเนื้อ รายวิชา สุขศึกษา ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษาที่2555

จัดทำโดย

                                       นายชยธร            กู้เกียรติกูล        เลขที่ 12
                                      นายณัฐชนน        นาคบรรพ์         เลขที่ 14
                                                 นายนัทนนท์           ป่าธนูู                 เลขที่  17

                                                 นายปิติพงษ์            เกิดเอียม          เลขที่ 18



 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 3


เสนอ


อาจารย์ จัตวา อรจุล



อ้างอิง
       http://auonplew.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
       http://th.wikipedia.org/wiki/กล้ามเนื้อ
      http://www.thaigoodview.com/node/32442
      http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/340/919/original_muscle_system.pdf?1308821625